พื้นไม้เอ็นจิเนียร์ [รู้ก่อนซื้อ] ดีจริงไหม ?

515 จำนวนผู้เข้าชม  | 

พื้นไม้เอ็นจิเนียร์ (engineering wood)

เข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับ พื้นไม้เอ็นจิเนียร์ ก่อนตัดสินใจกดสั่งซื้อสินค้า หากคุณยังไม่มั่นใจว่า ไม้พื้นเอ็นจิเนียร์ จะตอบโจทย์การใช้งานได้ดีจริงไหม ? ผมขอให้บทความนี้ ได้ช่วยให้คุณตัดสินใจเลือกพื้นไม้ที่ถูกใจของคุณเองครับ

เลือกอ่านตามหัวข้อ

พื้นไม้เอ็นจิเนียร์ คืออะไร

พื้นไม้เอ็นจิเนียร์ (engineering wood) คือ

Engineering Wood หรือ พื้นไม้เอ็นจิเนียร์ คือวัสดุปูพื้นที่ผลิตจากการแปรรูปไม้จริง และขึ้นรูปใหม่ด้วยการซ้อนกันหลายชั้นเกิดเป็น ไม้พื้นเอ็นจิเนียร์ เพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ ทั้งหมดของไม้จริง ไม่ว่าจะเป็นการยืดหด หรือขยายตัว และการบิดโก่งเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลง

สีสันของพื้นไม้เอ็นจิเนียร์

ผิวหน้าของ ไม้เอ็นจิเนียร์ จะเป็นไม้จริงแท้ สามารถเลือกลวดลายกับสีสันได้ตามต้องการ ความหนาของ พื้นไม้เอ็นจิเนียร์ จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดของไม้และการใช้งาน แต่สำหรับที่ใช้กับบ้านพักอาศัยทั่วไปจะมีความหนาประมาณ 12-20 มม.

โครงสร้างของพื้นไม้เอ็นจิเนียร์

โครงสร้างของพื้นไม้เอ็นจิเนียร์

นวัตกรรมการผลิต พื้นไม้เอ็นจิเนียร์ จะประกอบด้วยโครงสร้างหลัก 3 ชั้น คือ

  1. Face Layer : เป็นไม้จริงที่ผ่านการอบแห้ง และขัดแต่งอย่างดี เพื่อให้ ไม้พื้นเอ็นจิเนียร์ มีความสวยงามคงทน มีความหนา 2-4 มิลลิเมตร ขึ้นอยู่กับชนิดของไม้ เช่น ไม้โอ๊ค ไม้สัก หรือไม้วอลนัท และไม้ชนิดอื่น ๆ อีกมากมาย
  2. Core Layer : เป็นไม้ชนิดยางพารา ที่นำมาจัดวางตามโครงสร้างวิศวกรรม โดยใช้ธรรมชาติแก้ใขจุดบกพร่องตามธรรมชาติ ด้วยการวางขวางสลับเสี้ยนแบบ Multi-layers 9 ชั้น ทำให้พื้นไม้เอ็นจิเนียร์มีอัตราการยืดหด หรือขยายตัวต่ำ และยังคงให้ผิวสัมผัสของไม้จริง
  3. Backer Layer : เป็นแผ่นไม้ยางพาราเคลือบกันความชื้น ที่นำมาประกบชั้น Core Layer เพื่อเสริมความแข็งแรงให้กับแผ่นไม้พื้นเอ็นจิเนียร์

คุณสมบัติของไม้พื้นเอ็นจิเนียร์

  • ลักษณะของ พื้นไม้เอ็นจิเนียร์ (Engineering Wood) คล้ายกับพื้นไม้จริง (Solid Wood) ทั้งในเรื่องของลวดลาย สี และเนื้อไม้
  • ทนต่อความชื้น และการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ไม่เกิดการบิดงอ หรือแตกหักได้ง่าย
  • ติดตั้งสะดวก รวดเร็ว ด้วยการปูแผ่นโฟมรองพื้น นำไม้เอ็นจิเนียร์วางร่องให้ตรงกัน และยึดให้ติดกันด้วยกาว
  • ดูแลรักษาง่าย เพียงกวาดหรือดูดฝุ่น สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง
  • ราคา ค่าใช้จ่าย ถูกกว่าพื้นไม้จริง

ข้อควรทราบ ไม้พื้นเอ็นจิเนียร์

  • มีรอยต่อระหว่างแผ่น สามารถมองเห็นได้ แต่ ก็ถือเป็นเสน่ห์ของพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ ที่เสริมพื้นให้ดูโดดเด่นเป็นอย่างดี
  • จำเป็นต้องติดตั้งทับพื้นที่เรียบได้ระดับกันเท่านั้น หากฝืนปูไม้พื้นเอ็นจิเนียร์ทับพื้นเดิมที่ไม่เรียบเสมอกัน อาจทำให้เกิดเสียงดังเวลาเดิน

เปรียบเทียบ พื้นไม้เอ็นจิเนียร์ กับ พื้นไม้ลามิเนต

engineering wood กับ laminate flooring

หากกล่าวถึง วัสดุปูพื้นทดแทนไม้จริง นอกจาก พื้นไม้เอ็นจิเนียร์ (Engineering Wood) ผมเชื่อว่าหลายท่านก็อาจนึกถึง พื้นไม้ลามิเนต (Laminated Flooring) ที่รู้จักกันดีมากกว่า และย่อมต้องเกิดการเปรียบเทียบกันอย่างแน่นอน ผมจึงทำตารางสรุปมาให้แล้วครับ ตามนี้เลย

คุณสมบัติพื้นไม้เอ็นจิเนียร์
(Engineering Wood)
พื้นไม้ลามิเนต
(Laminated Flooring)
วัสดุหลักไม้จริงวางขวาง
สลับเสี้ยน 9 ชั้น
เศษไม้บดละเอียด
จนเป็นเส้นใย
ผิวหน้าไม้จริง 100%กระดาษพิมพ์ลายไม้
เคลือบเมลามีนเรซิน
ความแข็งแรงทนทานแข็งแรง ทนทานมากกว่าทนทานน้อยกว่า
ทนต่อความชื้นทนความชื้น ได้นานกว่าทนได้น้อยกว่า
การติดตั้งทากาวตรงร่องต่อ ยึดให้ติดกันระบบคลิกล็อค (Click Lock)
การดูแลรักษาง่าย ไม่ยุ่งยาก แต่ ไม่แนะนำ ให้ขัดหรือถูด้วยผ้าเปียกชุ่ม
ราคาราคาสูงกว่าราคาถูก

 

ไม้พื้นเอ็นจิเนียร์ เหมาะนำไปใช้งานกับบริเวณใด

การติดตั้งไม้พื้นเอ็นจิเนียร์ ที่ถูกต้องและผิด

เหมาะสำหรับใช้ปูพื้นภายในอาคารทุกประเภท ยกเว้น บริเวณพื้นที่มีความชื้นสูง เช่น ห้องครัว หรือห้องน้ำ เพราะถึงแม้ว่า พื้นไม้เอ็นจิเนียร์ จะมีความทนทานต่อความชื้นสูงกว่าพื้นไม้จริง แต่ก็ยังมีโอกาสบวมน้ำได้ หากต้องโดนน้ำเป็นเวลานาน

พื้นไม้เอ็นจิเนียร์ ราคาเท่าไหร่ หาซื้อได้ที่ไหน ?

ภาพระหว่างติดตั้ง ไม้พื้นเอ็นจิเนียร์

ราคาของพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะชนิดของไม้ หรือความหนาของพื้น (12-20 มม.) แต่ปกติแล้ว ไม้พื้นเอ็นจิเนียร์ จะมีราคาประมาณ 1,300-2,000 บาทต่อตารางเมตร

หากคุณกำลังหาซื้อสินค้า “ พื้นไม้เอ็นจิเนียร์ ” พวกเรา บริษัท เอส.เจ.ซอร์สซิ่ง ยินดีให้บริการจำหน่ายสินค้ายี่ห้อดัง และพร้อมติดตั้ง ด้วยทีมช่างเฉพาะทางประสบการณ์กว่า 15 ปี

สรุป

สรุปแล้ว พื้นไม้เอ็นจิเนียร์ ก็เป็นวัสดุปูพื้นทดแทนไม้จริง คล้ายกับพื้นไม้ลามิเนต แต่จะมีกระบวนการผลิตที่ซับซ้อนมากกว่า ด้วยการแปรรูปไม้จริง และขึ้นรูปใหม่ด้วยการซ้อนทับวัสดุหลายชั้นจนเกิดเป็น ไม้พื้นเอ็นจิเนียร์ เพื่อแก้ปัญหาการยืดหด-ขยายตัว และการบิดโก่งของไม้จริง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้