พื้นลามิเนตบวม ซ่อมเองได้ | ควรป้องกันอย่างไร ?

432 จำนวนผู้เข้าชม  | 

พื้นลามิเนตบวม

ทำความเข้าใจ พื้นลามิเนตบวม มีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง ? รวมถึงแนะนำวิธีซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดเสียหายอย่างถูกต้อง หลังจบบทความนี้ ผมเชื่อว่าทุกคนสามารถสั่งซื้อสินค้าไปจนถึงซ่อมพื้นลามิเนตด้วยตัวเองได้เลยครับ

ถึงแม้ว่าคุณอาจจะไม่อยากซ่อมแซมเองก็ตาม แต่การมีความเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นก็ยังสามารถช่วยคุณจัดการความเสี่ยงในเรื่องนี้ได้นั่นเองครับ

เลือกอ่านตามหัวข้อ

พื้นลามิเนตบวม เกิดจากอะไรได้บ้าง

  1. การทำความสะอาดพื้นลามิเนต ด้วยอุปกรณ์ชุ่มน้ำมากเกินความจำเป็น อาจทำให้เกิดความชื้นสะสมและทำให้บวมพองแบบไม่รู้ตัว
  2. น้ำรั่วซึมตามบริเวณต่าง ๆ เช่น ตามประตู หน้าต่าง ที่อาจจะมีฝนสาดเข้ามาได้ รวมถึงบริเวณผนังที่อาจมีความชื้นสะสมได้นั่นเอง
  3. ปูพื้นลามิเนตใกล้บริเวณห้องน้ำ ซึ่งอาจเกิดความชื้นได้หลากหลายสาเหตุ เช่น การเดินออกมาทันทีหลังอาบน้ำเสร็จ ไอน้ำจากเครื่องทำน้ำอุ่น เป็นต้น
  4. น้ำแอร์หยดลงพื้น ที่มีสาเหตุจากสุขภาพของแอร์ที่แย่ ควรรีบตรวจเช็คและแก้ใขจะดีที่สุด
  5. พฤติกรรมสัตว์เลี้ยง ที่ชอบขับถ่ายบนพื้นบ้าน เป็นปัญหาจุกจิกที่อาจทำให้พื้นลามิเนตบวม และสร้างค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น ถ้าหากคุณชอบเลี้ยงสัตว์การเลือกใช้ กระเบื้องยาง SPC จะตอบโจทย์กับคุณมากกว่า 

ถ้าหากบวม จำเป็นต้องเปลี่ยนไหม

  1. หากบริเวณที่พื้นลามิเนตบวม ไม่กว้างมากเกินไป สามารถใช้พรมผืนกว้าง หรือเฟอร์นิเจอร์มาวางปิดไว้ก่อนได้ และหาโอกาสในการซ่อมแซมต่อไป เป็นการตกแต่งบ้านไปในตัวอีกด้วย
  2. หากบวมเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ แนะนำว่าควรจำเป็นต้องเปลี่ยนครับ เพราะหากทิ้งไว้ระยะยาวอาจจะคลายสารเคมีออกมาจากตัวแผ่นไม้ได้ เป็นกลิ่นแบบอับชื้นผสมกับสารเคมี หากสูดดมนาน ๆ จะไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพนั่นเองครับ
  3.  สาเหตุหลักที่แนะนำว่าควรเปลี่ยน หรือรีบซ่อมแซม ก็เพราะว่าเมื่อหากปล่อยทิ้งไว้ระยะเวลานาน จะกลายเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค เนื่องจากภายในแผ่นลามิเนตมีวัสดุจากเศษไม้

เคล็ด(ไม่ลับ) ซ่อมแซมพื้นลามิเนตบวม

  1. ตรวจวัดบริเวณที่พื้นลามิเนตบวมหรือชำรุด เพื่อทราบขอบเขตการซ่อมแซม และคาดการณ์ค่าใช้จ่าย (เบื้องต้น)
  2. หลังจากทราบขอบเขตการซ่อมแซม จึงเริ่มรื้อแผ่นลามิเนตที่ชำรุดอย่างระมัดระวัง ไม่ควรรีบงัดออกมาโดยเร็ว เพราะอาจส่งผลให้แผ่นใกล้เคียงที่ปกติเกิดความเสียหายได้ เพราะการปูพื้นแบบคลิ๊กล็อค (Click Lock) เป็นการต่อยึดกันระหว่างแผ่น แตกต่างจากระบบปูกาว (Dry Back) ที่แต่ละแผ่นจะเป็นอิสระต่อกันนั่นเอง อ่านเพิ่มเติม : การปูพื้นแบบคลิ๊กล็อค (Click Lock) กับ ปูกาว (Dry Back) ต่างกันอย่างไร?
  3. นำแผ่นใหม่มาทาบบริเวณที่ต้องการซ่อมแซม นำมาตัดแต่งด้วยเครื่องมือตัดเพื่อให้ได้ขนาดที่เหมาะสมตามที่ต้องการ ถ้าหากพื้นลามิเนตเป็นชนิดความหนาไม่มาก สามารถใช้คัดเตอร์ตัดแต่งด้วยตนเองได้เลยครับ
  4. ควรเลือกใช้สินค้ายี่ห้อเดิม รุ่นเดิม เพราะการปูพื้นแบบคลิ๊กล็อค (Click lock) จะมีการจดลิขสิทธิ์และผลิตออกมาแตกต่างกัน ส่วนใหญ่จึงไม่สามารถนำมาใช้ร่วมกันได้นั่นเองครับ (หากที่พักอาศัยเป็นบ้านโครงการ อาคาร หรือคอนโด ควรสอบถามรายละเอียดการเลือกใช้สินค้ากับนิติบุคคลหมู่บ้าน ว่าใช้ยี่ห้ออะไร รุ่นอะไร)
  5. หลังจากตัดแต่งจนได้ขนาดที่ต้องการ ก็สามารถปูพื้นเ ข้าไปแทนของเดิมได้เลยครับ แต่...ในกรณีที่เป็นส่วนมุมห้อง หรือจุดที่ต้องหักมุม แนะนำว่าควรแกะคิ้วบัวหรือบัวกันเปื้อนออกด้วยความระมัดระวัง เพื่อป้องกันความเสียหายจุกจิกที่อาจตามมา
  6. ถ้าหากทำการรื้อบัวพื้นออกมา เมื่อปูแผ่นลามิเนตใหม่เสร็จเรียบร้อยจึงติดบัวกลับเข้าที่เดิม เป็นอันเสร็จเรียบร้อยค้าบ ~

ควรป้องกันอย่างไร

  1. หากมีคราบสกปรกบนพื้นลามิเนต ไม่ควรทิ้งไว้นานและให้รีบทำความสะอาดเพราะอาจกลายเป็นคราบที่ทำความสะอาดยาก แนะนำ - ใช้ไม้ถูพื้น หรือผ้าเช็ดพื้นบิดหมาด (ไม่ชุ่มน้ำ) หลังจากนั้นเช็ดให้แห้งอีกครั้งด้วยผ้าแห้ง
  2. ระวังความชื้นทุกรูปแบบ พยายามอย่าให้น้ำหกหรือขังบนพื้น เพราะอาจทำให้แผ่นไม้โก่งหรือบวมพองจนต้องลื้อออกมาซ่อมแซม แต่...ถ้าหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็ควรระวังสังเกตุ และรีบเช็ดทำความสะอาดให้แห้งเรียบร้อยทันที !!
  3. ใช้พรมเช็ดเท้า ถึงแม้ว่าพื้นลามิเนตจะมีการเคลือบผิว (Overlaying Film) แต่ก็เป็นเพียงเกราะชั้นเดียวของแผ่นไม้เท่านั้น ดังนั้นการใช้พรมดักกรองฝุ่นที่เท้าก่อนเหยียบลงบนพื้นลามิเนต ก็สามารถช่วยยืดอายุการใช้งานให้นานขึ้นได้จริง
  4. แสงแดด เป็นอีกสาเหตุที่ส่งผลกับพื้นผิวลามิเนตโดยตรงครับ เพราะสามารถทำให้สีซีดจาง ไม่สวยสด หรืออาจส่งผลให้พื้นลามิเนตบวมพอง และยุบตัวได้เหมือนกันครับ แนะนำ - ให้ติดตั้งผ้าม่าน หรือเลือกใช้ฟิล์มกรองแสงบริเวณประตูกับหน้าต่าง ก็จะช่วยป้องกันในเรื่องนี้ได้ครับ
  5. จากข้อ (1) เมื่อคราบนั้นสกปรกฝังแน่น ไม่สามารถทำความสะอาดด้วยวิธีปกติได้ แนะนำ - ให้เลือกใช้น้ำส้มสายชูผสมกับน้ำอุ่น จากนั้นนำไปเช็ดทำความสะอาด และเช็ดจบด้วยผ้าแห้งจนสะอาดอีกครั้ง (กรณีที่เป็นคราบยาง ให้นำน้ำเย็นหรือน้ำแข็งมาถูวน ๆ จากนั้นเช็ดออกด้วยผ้าแห้งอีกรอบเช่นกันครับ)
  6. ไม่แนะนำ ให้ทำความสะอาดพื้นด้วยแปรงขัด หรือเครื่องดูดฝุ่นที่มีปลายแข็งเกินไป เพราะสามารถเกิดรอยขีดข่วนได้ รวมถึงห้ามใช้น้ำยาล้างห้องน้ำ น้ำยาเช็ดกระจก หรือสารเคมีต่าง ๆ เพราะอาจจะไปทำลายชั้นฟิล์มผิวหน้าได้นั่นเอง
  7. การเคลื่อนย้ายเฟอร์นิเจอร์ หากมีน้ำหนักมากก็ควรระวังอย่าลากกับพื้น เพราะอาจทำให้เสียหายและเกิดรอยขีดข่วนได้ แนะนำ - ให้ใช้เครื่องมือทุ่นแรงต่าง ๆ ในการเคลื่อนย้าย หรือสามารถใช้ผ้าหนา ๆ รองเฟอร์นิเจอร์นั้น ๆ ก่อนเคลื่อนย้ายก็ได้เช่นกันครับ

สรุป

เป็นไงกันบ้างครับสำหรับปัญหา พื้นลามิเนตบวม โดยบทความนี้ถูกเขียนขึ้นเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับคนที่ประสบปัญหานี้โดยเฉพาะ ตั้งแต่ที่มาของปัญหาจนถึงวิธีซ่อมแซมแก้ใข หวังว่าจะมีประโยชน์ต่อทุกท่านนะครับ

แต่ ถ้าหากคุณไม่มีเวลาก็สามารถให้พวกเรา SJ Sourcing ช่วยดูแลให้คุณในเรื่องนี้ สั่งซื้อ → ติดตั้ง → รับประกัน 1 ปี ช่องทางติดต่อด้านล่างเลยครับ

สอบถามบริการปูพื้น ขอใบเสนอราคา

Facebook : m.me/S.j.SourcingOfficial
Line : @sj.sourcing หรือคลิก https://lin.ee/UYMWARw
โทร. 081-9039934 (มิ้ม) หรือ 081-9710033

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้