ปูพื้นกระเบื้องยาง ระบบคลิ๊กล็อค/ปูกาว ควรเลือกแบบไหน?

804 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ปูพื้นแบบ Click Lock กับ Dry Back

ทุกคนอาจรู้จัก กระเบื้องยาง กันมาพอสมควรใช่ไหมครับ บทความนี้จะไม่ขอพูดถึงคุณสมบัติ ข้อดี-ข้อเสีย ของวัสดุปูพื้นแต่อย่างใด แต่...จะขอลงข้อมูลเชิงลึกในเรื่อง ระบบการติดตั้ง กันครับผ

การปูพื้นกระเบื้องยาง มี 2 ระบบ คือ

  1. การติดตั้งแบบทากาว หรือปูกาว (Dry Back)
  2. การติดตั้งแบบคลิ๊กล็อค (Click Lock)

เลือกอ่านตามหัวข้อ

ทำความรู้จักกันก่อน

การติดตั้งแบบคลิ๊กล็อค (Click Lock) คืออะไร

เป็นการติดตั้งแบบไม่ใช้กาว แต่ใช้เทคนิคการล็อคกันเองระหว่างแผ่นกระเบื้องยาง มีลิ้นบริเวณของกระเบื้องและร่อง ทำหน้าที่ยึดเข้าด้วยกัน โดย กระเบื้องยาง SPC เป็นที่นิยมมาก ซึ่งถูกพัฒนามาจาก กระเบื้องยาง LVT มักจะได้ยินคำว่า คลิ๊กล็อค กับ SPC มาจากรุ่นนี้ แต่จะมีระบบการติดตั้งเพียงอย่างเดียว คือ ระบบคลิ๊กล็อค

ข้อดี กระเบื้องยางระบบคลิ๊กล็อค (Click Lock)

  1. ติดตั้งง่าย รวดเร็วกว่าระบบปูกาว ไม่ต้องใช้ช่างหรืออุปกรณ์มากมาย สามารถศึกษาและติดตั้งด้วยตนเองได้
  2. ปูทับพื้นเดิมได้เลย
  3. หากมีการชำรุด สามารถรื้อถอนได้ง่าย จะไม่มีเศษกาวเหลือเป็นคราบเหมือนระบบปูกาว

ข้อเสีย กระเบื้องยางระบบคลิ๊กล็อค (Click Lock)

  1. มีราคาค่อนข้างสูง หากเทียบกับระบบปูกาว ในการใช้งานบางพื้นที่อาจไม่ใช่ทางเลือกที่คุ้มที่สุด
  2. ตรงกันข้ามกับข้อดี เมื่อมีการชำรุด ในการซ่อมแซมจะต้องค่อย ๆ รื้อแผ่นใกล้เคียงออกมาและติดตั้งกลับไปอีกรอบนึง ซึ่งอาจใช้เวลามากกว่าการซ่อมแซมแบบระบบปูกาว

การติดตั้งแบบปูกาว หรือทากาว (Dry Back) คืออะไร

เป็นการติดตั้งแบบทากาวลงบนพื้นก่อนปูกระเบื้องยาง โดยการปูพื้นแบบนี้จะเริ่มจากกลางห้องไล่ออกไปหาขอบผนัง การติดตั้งด้วยวิธีนี้จึงมีความแน่น ยึดเกาะกับพื้นได้เรียบเนียนกว่าระบบคลิ๊กล็อค ไม่หลุดร่อนง่าย โดยในบางยี่ห้อก็อาจจะมีกาวในตัวแผ่นกระเบื้องยางมาด้วยเลย ทำให้ติดเร็วมากเลยทีเดียวครับ

ข้อดี กระเบื้องยางระบบปูกาว (Dry Back)

  1. ยึดติดกับพื้นดีกว่าระบบคลิ๊กล็อค
  2. ราคาไม่สูง อาจเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกว่าระบบคลิ๊กล็อค ในบางพื้นที่
  3. ในการซ่อมแซม สามารถนำเฉพาะแผ่นที่ชำรุดออกมา แล้วนำแผ่นใหม่ปูทับได้เลย

ข้อเสีย กระเบื้องยางระบบปูกาว (Dry Back)

  1. ไม่แนะนำให้ติดตั้งด้วยตนเอง หากขาดทักษะการปูพื้นโดยเฉพาะ
  2. เมื่อรื้อถอน ซ่อมแซม อาจจะเกิดคราบกาวได้ในบางยี่ห้อ

เปรียบเทียบคุณสมบัติ

1. เปรียบเทียบการขยายตัวและหดตัวเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลง

กระเบื้องยางระบบคลิ๊กล็อค จะหดและขยายตัวน้อยกว่าระบบปูกาว เนื่องจากความหนาที่มากกว่า โดยจะมีความหนา 4-5 มม. ซึ่งระบบปูกาว จะมีความหนาเพียง 2-3 มม.เท่านั้น โดยอีกเหตุผล คือ การประสานระหว่างกันของกระเบื้องยางลายไม้ ซึ่งแตกต่างกับระบบปูกาวที่เป็นอิสระต่อกัน ซึ่งหากมีการยืดหดขยาย จะเห็นได้ชัด และสังเกตได้ง่ายกว่าระบบคลิ๊กล็อค

2. เปรียบเทียบด้านการติดตั้ง

การปูพื้นระบบคลิ๊กล็อค จะติดตั้งได้สะดวกกว่าระบบปูกาว เพราะจะไม่ต้องเสียเวลาเตรียมพื้นที่ก่อนติตตั้ง สามารถติดตั้งด้วยการปูพื้นซีเมนต์ขัดหยาบ และพื้นกระเบื้องได้เลย โดยระบบปูกาว สามารถติดตั้งได้บนพื้นซีเมนต์ขัดมันและพื้นกระเบื้องเท่านั้น ระบบคลิ๊กล็อคจะใช้น้ำหนักตัวแผ่นในการติดทับประสาน แตกต่างกับระบบปูกาวที่ใช้กาวในการทาบนพื้นชั้นล่างเพื่อให้เกิดการยึดติด

“ หากช่างมีความชำนาญ ความเร็วในการติดตั้ง จะใกล้เคียงกัน ”

3. เปรียบเทียบด้านราคา

ระบบปูกาว จะมีราคา/ตร.ม. ถูกกว่า ระบบคลิ๊กล็อค เนื่องมาจากปัจจัยเรื่องความหนาที่แตกต่างกัน อย่างรุ่น LVT ดังนี้

4. เปรียบเทียบด้านความคงทน และการป้องกันรอยขีดข่วน

กระเบื้องยางลายไม้ LVT คลิ๊กล็อค กับ ปูกาว มีคุณสมบัติป้องกันแรงกระแทก และป้องกันรอยขีดข่วน ได้ดีเท่า ๆ กัน ด้วยวัสดุที่ผลิตจากไวนิลคุณภาพสูงทั้งคู่ และยังสามารถป้องกันน้ำ ความชื้น และปลวกได้ 100% เหมือนกันทั้งคู่อีกด้วย

สรุป

การปูพื้นกระเบื้องแบบคลิ๊กล็อค (Click Lock) กับ ปูกาว (Dry Back) ซึ่งต่างก็เป็นกระเบื้องยาง ที่มอบคุณสมบัติได้ดีเท่า ๆ กัน แตกต่างกันเพียงความหนา และวิธีการติดตั้ง โดยบทความนี้กล่าวถึง ข้อ-ข้อเสีย ของการติดตั้ง 2 รูปแบบ หวังว่าจะช่วยคลายความสงสัย และก่อประโยชน์กับผู้ค้นหานะครับ

แต่ ถ้าหากคุณไม่มีเวลาก็สามารถให้พวกเรา SJ Sourcing ช่วยดูแลให้คุณในเรื่องนี้ สั่งซื้อ → ติดตั้ง → รับประกัน 1 ปี ช่องทางติดต่อด้านล่างเลยครับ

สอบถามบริการปูพื้น ขอใบเสนอราคา

Facebook : m.me/S.j.SourcingOfficial
Line : @sj.sourcing หรือคลิก https://lin.ee/UYMWARw
โทร. 081-9039934 (มิ้ม) หรือ 081-9710033

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้