ค่าแรงปูกระเบื้องยาง ปี 2567 | คิดราคาต่อตารางเมตรอย่างไร ?

42367 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ค่าแรงปูกระเบื้องยาง คิดราคาต่อตารางเมตร

ไฮไลท์บทความ (Key Takeaways)

การปูกระเบื้องยาง คืองานที่ต้องใช้ทักษะกับความชำนาญเฉพาะทางที่ดี ทำให้ ค่าแรงปูกระเบื้องยาง ที่ช่างเรียกเก็บจากผู้จ้างนั้นมักขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เฉลี่ยค่าแรงปูกระเบื้องยางจะอยู่ที่ 150-300 บาทต่อตารางเมตร

กระเบื้องยาง วัสดุปูพื้นที่กำลังเป็นที่นิยมสูงต่อเนื่องในหลายปีมานี้ การจะปูกระเบื้องยางให้สวยงามและใช้งานได้ดีนั้น จำเป็นต้องอาศัยช่างผู้เชี่ยวชาญในการติดตั้ง ซึ่งค่าแรงปูกระเบื้องยางของช่าง ถือเป็นหนึ่งในต้นทุนหลักที่ผู้ว่าจ้างต้องคำนึงถึง

บทความนี้มาไขข้อข้องใจกันครับ ว่าในปี 2567 ค่าแรงปูกระเบื้องยางต่อตารางเมตรนั้นคิดคำนวณกันอย่างไร และมีเทคนิคอะไรบ้างที่จะมาช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ได้

เลือกอ่านตามหัวข้อ

ค่าแรงปูกระเบื้องยาง ปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าแรง

ค่าแรงปูกระเบื้องยางต่อตารางเมตรไม่มีราคาตายตัว แต่จะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งความยากง่ายของกระเบื้องที่เลือกใช้ พื้นที่ที่จะปู สถานที่ติดตั้ง และประสบการณ์ฝีมือของตัวช่างเอง เหตุผลเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อระยะเวลากับความประณีต สะท้อนมาถึงค่าแรงที่ไม่เท่ากันในแต่ละงานครับ

1. ประเภทและความซับซ้อนของกระเบื้องยาง

ปัจจัยราคาค่าแรงปูกระเบื้องยาง ประเภทชนิดวัสดุปูพื้น

กระเบื้องยางมีให้เลือกหลายประเภท ตั้งแต่แบบธรรมดาไปถึงแบบที่มีลวดลายและพื้นผิวที่ซับซ้อน ทำให้บางชนิดอาจต้องใช้เทคนิคพิเศษหรือเครื่องมือเฉพาะในการปู

ยิ่งกระเบื้องยางซับซ้อนมากเท่าไร ก็ยิ่งต้องใช้เวลากับความชำนาญมากขึ้น ส่งผลให้ค่าแรงปูกระเบื้องยางต่อตารางเมตรสูงขึ้นตามไปด้วย เช่นกระเบื้องยางลายไม้หรือลายหินอ่อน อาจมีราคาค่าแรงที่สูงกว่าการปูกระเบื้องยางสีพื้นธรรมดา

2. ขนาดของพื้นที่ที่ต้องปู

ปัจจัยราคาค่าแรงปูกระเบื้องยาง ขนาดพื้นที่

ขนาดของพื้นที่ อีกปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อค่าแรงปูกระเบื้องยาง เพราะทั่วไปพื้นที่ขนาดใหญ่ที่มีลักษณะเป็นผืนต่อเนื่องจะมีค่าแรงต่อตารางเมตรถูกกว่าพื้นที่ขนาดเล็ก เพราะช่างจะทำงานได้เร็ว แต่ในทางกลับกัน การปูกระเบื้องยางในพื้นที่แคบหรือมีมุมหักโค้งเยอะ จะทำให้ช่างเสียเวลาไปกับการวัดขนาดและตกแต่งรอยต่อมากขึ้น ทำให้ค่าแรงต่อหน่วยอาจสูงกว่า

แต่กรณีพื้นที่ขนาดใหญ่มาก เกินกว่า 1,000-2,000 ตารางเมตรขึ้นไป ค่าแรงปูกระเบื้องต่อหน่วยอาจจะไม่ได้ถูกลงไปกว่านี้ เพราะช่างต้องใช้เวลาในการทำงานนานขึ้นมาก รวมทั้งความเสี่ยงที่อาจทำให้สูญเสียจำนวนแผ่นมากขึ้นด้วย

3. ความยากง่ายในการเข้าถึงสถานที่ติดตั้ง

ปัจจัยราคาค่าแรงปูกระเบื้องยาง ความยากง่ายเข้าสถานที่

ปัจจัยที่มักมองข้ามกันแต่กลับมีผลต่อค่าแรงปูกระเบื้องยางอย่างมากคือ ทำเลที่ตั้งและความสะดวกในการเข้าถึงพื้นที่ติดตั้ง เพราะหากสถานที่อยู่ไกล เดินทางเข้าถึงลำบาก หรือเป็นอาคารสูงที่ต้องขนย้ายวัสดุอุปกรณ์ขึ้นไปหลายชั้น ช่างอาจขอคิดค่าแรงเพิ่มเติมจากค่าเดินทางและค่าแรงยกของขึ้นที่สูงอีกต่างหาก

ถ้ายิ่งสภาพแวดล้อมบริเวณที่ปูมีข้อจำกัด เช่นเป็นที่แคบ มีเสาหรือเฟอร์นิเจอร์กีดขวาง จะยิ่งเพิ่มทั้งระยะเวลาและความยุ่งยากในการทำงานของช่าง ทำให้อัตราค่าแรงต่อตารางเมตรมีแนวโน้มสูงตามไปด้วย ฉะนั้นผู้จ้างควรเตรียมสถานที่ติดตั้งกระเบื้องยางให้พร้อมต่อการทำงานของช่างมากที่สุดไว้ก่อน

4. ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของช่าง

ปัจจัยราคาค่าแรงปูกระเบื้องยาง ประสบการณ์ช่าง

ตัวช่างผู้รับติดตั้งเองก็เป็นปัจจัยสำคัญ ที่กำหนดค่าแรงปูกระเบื้องยางต่อตารางเมตรได้เช่นกัน เพราะช่างปูกระเบื้องยางที่ชำนาญและผ่านงานมามาก จะย่อมมีอัตราค่าแรงสูงกว่าช่างทั่วไป ช่วยให้มั่นใจว่าจะได้ผลงานติดตั้งที่รวดเร็วและมีคุณภาพ

แต่ค่าแรงปูกระเบื้องยางที่สูงกว่า ไม่ได้การันตีว่างานที่ได้จะดีกว่าเสมอไป เพราะบางครั้งช่างที่มีชื่อเสียงอาจรับงานไว้มากเกินไป จนไม่สามารถควบคุมคุณภาพได้ทั่วถึง หรือสุดท้ายอาจวานให้คนอื่นที่ฝีมือไม่เท่ามาทำแทน ผู้จ้างควรต้องสังเกตและสอบถามประสบการณ์จริงของช่างแต่ละคนให้ละเอียด ก่อนตัดสินใจว่าจ้างให้เหมาะสมกับงบประมาณของท่านเอง

ค่าใช้จ่ายนอกเหนือจากค่าแรงปูกระเบื้องยาง

นอกจากค่าแรงปูกระเบื้องยางที่พิจารณาอย่างรอบคอบ ผู้ว่าจ้างอาจจำเป็นต้องสำรวจค่าใช้จ่ายส่วนอื่นที่เกี่ยวข้องกับการปูกระเบื้องยางด้วย ทั้งค่าวัสดุอุปกรณ์ ค่าเดินทาง และค่าทำความสะอาด เพราะบางรายการผู้จ้างอาจดำเนินการเองหรือแยกจ้างได้ แต่บางรายการก็มักถูกรวมอยู่ในใบเสนอราคาที่ช่างแจ้งมา

1. ค่าวัสดุอุปกรณ์

แม้ผู้จ้างจะจัดหากระเบื้องยางมาเอง แต่อาจมีอุปกรณ์อื่นที่จำเป็นต้องใช้ร่วมติดตั้ง อย่างเช่นกาวยาง อุปกรณ์เชื่อมต่อหรือจบขอบ และน้ำยาทำความสะอาด ซึ่งบางรายการหากร้านจำหน่ายกระเบื้องไม่แถมมาให้ ช่างอาจต้องคิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม และค่าดำเนินการจัดซื้อจัดหาให้ นอกเหนือจากค่าแรงปูกระเบื้องยาง

ช่างบางรายอาจใช้อุปกรณ์เฉพาะทางที่มีราคาสูง เช่นเครื่องตัดไฟฟ้า หรือเครื่องขัดกระเบื้อง ทำให้มักจะคิดค่าเช่าหรือค่าเสื่อมราคารวมมาในค่าบริการ และบางกรณี ผู้รับเหมาอาจมีส่วนลดพิเศษสำหรับการสั่งซื้อวัสดุมาให้ เป็นทางช่วยลดต้นทุนได้ระดับหนึ่ง

2. ค่าเดินทาง

กรณีสถานที่ปูกระเบื้องอยู่ไกล ต้องใช้ทั้งเวลาและเชื้อเพลิงเดินทางพอสมควร ช่างมักจะคิดค่าเดินทางเพิ่มจากค่าแรงปูกระเบื้องยาง โดยคิดเป็นเที่ยวหรือเหมาจ่ายตามระยะทาง ค่าเดินทางนี้ยังช่วยชดเชยการขนย้ายเครื่องมือกับอุปกรณ์ที่จำเป็นด้วย หากที่พักอาศัยอยู่ไกลตัวเมืองหรือเข้าถึงได้ลำบาก ผู้จ้างควรสอบถามเรื่องค่าเดินทางให้ชัดเจนตั้งแต่ต้น

3. ค่าทำความสะอาดหลังปูกระเบื้องยาง

หลังปูกระเบื้องยางจนเต็มพื้นที่ สิ่งที่ตามมาคือขยะเศษวัสดุ ฝุ่นผง คราบกาว และรอยเปื้อนต่าง ๆ ผู้จ้างหลายท่านมักจะไม่อยากเสียเวลามาทำความสะอาดเอง การแม่บ้านเข้ามาเก็บกวาดเลยเป็นอีกค่าใช้จ่ายที่เพิ่มเข้ามา หรืออาจเจรจากับช่างแต่ทีแรก ว่าให้ช่วยเก็บทำความสะอาดหลังปูกระเบื้องยางเต็มพื้นที่แบบคิดรวมค่าแรงไปเลย เพราะเทียบกับการจ้างคนอื่นมาทำความสะอาดให้ วิธีนี้จะประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า

ราคาเฉลี่ยค่าแรงปูกระเบื้องยางต่อตารางเมตร

เพราะมีหลายปัจจัยเข้ามากำหนดอัตราค่าแรงปูกระเบื้องยาง ราคาค่าแรงตายตัวจึงไม่สามารถกำหนดได้ แต่จากผลสำรวจข้อมูลในตลาดช่วงปี 2566-2567 ที่ผ่านมา พบว่าค่าแรงปูกระเบื้องยางจะเฉลี่ยที่ 150-300 บาทต่อตารางเมตร หรือตามตารางนี้

ประเภทกระเบื้องยาง
ชนิดกระเบื้องยาง
เฉลี่ยค่าแรงปูกระเบื้องยาง
(บาท/ตร.ม.)
แบบแผ่นLVT150 - 250
SPC180 - 300
WPC200 - 350
แบบม้วนLVT100 - 200
  • ราคานี้เป็นเพียงค่าแรง ไม่รวมวัสดุอื่น เช่นกาว หรือบัวเชิงผนัง
  • ราคาอาจต่างกันไปตามพื้นที่ ความซับซ้อนของงาน และประสบการณ์ของช่าง

วิธีการเลือกช่างรับปูกระเบื้องยาง

เมื่อเข้าใจปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าแรงปูกระเบื้องยาง อีกเรื่องสำคัญที่ผู้จ้างควรศึกษาคือ วิธีการเลือกช่างให้เหมาะกับงาน เพราะนอกจากช่วยให้ได้ผลงานติดตั้งตามที่คาดหวัง แต่ยังเป็นแนวทางที่ช่วยให้ใช้งบประมาณได้อย่างคุ้มค่า ด้วยข้อแนะนำตามนี้

  1. สอบถามข้อมูลช่างจากเพื่อนหรือคนรู้จักที่เคยใช้บริการปูกระเบื้องยางมาก่อน หากได้รับการแนะนำช่างที่ผลงานดี ราคาสมเหตุสมผล และเชื่อถือได้ จะช่วยประหยัดเวลาในการค้นหาไปได้มาก
  2. ลองตรวจสอบประวัติและผลงานที่ผ่านมาของช่าง หากเป็นบริษัทหรือร้านรับเหมา ก็ควรมีตัวอย่างผลงานจริงให้ดู และถ้ารับประกันผลงานหลังปูให้ด้วยจะยิ่งดี
  3. ขอใบเสนอราคาที่แจกแจงรายละเอียดทั้งค่าแรงปูกระเบื้องยาง ค่าวัสดุอุปกรณ์  (กรณีรวมมาให้) เงื่อนไขการทำงาน ระยะเวลาดำเนินการ หรือการเก็บเงินเป็นงวด ๆ เพื่อให้เปรียบเทียบได้ง่าย และใช้เป็นเอกสารอ้างอิงหากเกิดข้อพิพาทภายหลัง
  4. เลือกช่างที่สื่อสารเข้าใจ ตอบคำถามได้เคลียร์ เต็มใจรับฟังผู้จ้าง และให้คำแนะนำตรงประเด็น เพราะการสื่อสารที่ตั้งแต่เริ่มต้น จะช่วยให้การทำงานราบรื่นและเป็นไปตามคาดหวัง

เคล็ดลับการประหยัดค่าแรงปูกระเบื้องยาง

แม้ว่าค่าแรงช่างจะเป็นปัจจัยที่คุมได้ยาก เพราะมีความผันผวนตามสภาพตลาดและปริมาณความต้องการในแต่ละช่วงไม่เท่ากัน แต่ผู้จ้างสามารถใช้เทคนิคข้างล่างนี้ เพื่อลดต้นทุนในจุดอื่นแทนได้  โดยที่ไม่ต้องไปกดราคาค่าแรงปูกระเบื้องยางของช่าง

  1. เตรียมพื้นที่ก่อนปู ก่อนช่างจะเข้ามาทำงาน ให้เตรียมพื้นที่ว่างเปล่าเอาไว้ ทั้งเคลื่อนย้ายเฟอร์นิเจอร์และสิ่งของกีดขวาง ทำความสะอาดฝุ่นผง หากมีพื้นเก่าแกะออกได้เองก็ให้ทำไว้ก่อน สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ช่างเข้าทำงานได้ทันที ช่วยประหยัดเวลาในการเคลียร์พื้นที่ ลดความเสี่ยงต่อความผิดพลาด และลดค่าใช้จ่ายโดยรวมลงได้
  2. เลือกกระเบื้องยางที่ติดตั้งง่าย กระเบื้องยางแต่ละแบบติดตั้งยากง่ายไม่เท่ากัน วัสดุปูพื้นที่ทำความสะอาด ตัดแต่ง และต่อกันได้ง่ายจะใช้เวลาน้อยกว่า ทำให้ช่างคิดค่าแรงถูกลง นอกจากนี้ ปัจจุบันได้มีกระเบื้องยางรุ่นใหม่ ๆ ที่ออกแบบมาให้ปูด้วยตนเองได้ โดยไม่ต้องพึ่งช่างเลย เป็นอีกทางให้พิจารณาเลือก
  3. เปรียบเทียบราคาจากหลาย ๆ ช่าง ให้ได้ราคาที่เหมาะสม ไม่ควรตกลงใช้บริการช่างรายแรกในทันที แต่ให้ลองขอใบเสนอราคาจากหลายแหล่ง ทั้งช่างอิสระย่านใกล้เคียง และร้านรับเหมาปูกระเบื้องยาง อย่างน้อย 3-5 แห่ง เพื่อให้ทราบช่วงราคากลางในตลาด สามารถต่อรองราคาได้

คำถามที่พบบ่อย ค่าแรงปูกระเบื้องยาง

  • ถ้าพื้นที่ปูน้อยกว่า 50 ตารางเมตร ช่างจะคิดค่าแรงปูกระเบื้องยางแพงกว่าปกติไหม

ตอบ ค่าแรงปูกระเบื้องยางต่อตารางเมตรของพื้นที่ขนาดเล็กจะสูงกว่างานใหญ่ครับ เพราะมีเศษกระเบื้องเหลือทิ้งและใช้เวลาติดตั้งนานกว่า งานพื้นที่ที่น้อยกว่า 30-50 ตารางเมตร มักจะถูกคิดค่าแรงเพิ่มขึ้น 20-30% จากราคาปกติ หรือคิดเหมาเป็นรายวัน ขึ้นอยู่กับการตกลงกับช่างแต่ละราย

  • ผู้รับเหมาเสนอคิดค่าแรงเหมารวมวัสดุอุปกรณ์ ดีหรือไม่

ตอบ การให้ผู้รับเหมาจัดหากระเบื้องยางและอุปกรณ์ทั้งหมด อาจได้ราคาวัสดุที่ถูกลงเพราะซื้อเป็นประจำ แต่ขณะเดียวกันช่างก็อาจบวกกำไรเพิ่มเข้าไปด้วย แนะนำให้เช็คสเปกและราคากระเบื้องยางที่ต้องการ แล้วเทียบกับราคาที่ผู้รับเหมาเสนอ หากไม่ต่างกันมากก็ถือเป็นทางเลือกที่สะดวกดี แต่ถ้าสูงกว่าท้องตลาดเยอะ ก็ให้จัดซื้อวัสดุเองแล้วให้ช่างคิดเฉพาะค่าแรงจะดีกว่า

  • ไม่พอใจผลงานปูกระเบื้องยาง เรียกค่าเสียหายได้ไหม

ตอบ ปกติแล้ว ถ้าผลงานติดตั้งกระเบื้องยางไม่ได้คุณภาพตามที่ตกลงไว้ จะสามารถให้ช่างแก้ไขหรือทำใหม่ได้ ไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม แต่หากต้องการเรียกค่าเสียหายส่วนอื่น จำเป็นที่ต้องพิจารณาจากเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญาหรือใบเสนอราคา กรณีไม่ได้กำหนดไว้ชัดเจนก็อาจทำได้ยาก ดังนั้นก่อนเซ็นสัญญาจ้างเหมา ผู้จ้างควรต้องอ่านทำความเข้าใจและเจรจาข้อตกลงให้เคลียร์แต่ทีแรก

สรุป

สรุปแล้ว ค่าแรงปูกระเบื้องยาง ต่อตารางเมตรในปี 2567 นั้น ราคามีความผันแปรไม่ตายตัวอยู่หลายปัจจัย ทั้งประเภทความซับซ้อนกระเบื้องยาง ขนาดลักษณะพื้นที่ สภาพแวดล้อมของสถานที่ติดตั้ง และประสบการณ์ชื่อเสียงของช่าง ซึ่งล้วนส่งผลต่อต้นทุนกับการกำหนดราคาทั้งสิ้น แม้จะให้ค่าเฉลี่ยที่แน่นอนได้ยาก แต่เมื่อพิจารณาจากอัตราค่าแรงในตลาด ค่าแรงปูกระเบื้องยางจะอยู่ที่ 150-300 บาทต่อตารางเมตรในปัจจุบัน

สุดท้ายแล้ว ราคาเป็นเพียงหนึ่งในหลายปัจจัยประกอบใช้เลือกช่างปูกระเบื้องยางเท่านั้น สำคัญคือการเลือกช่างที่ดี มีประสบการณ์ สื่อสารและให้ข้อมูลชัดเจนถี่ถ้วน และรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย ไม่ควรเลือกจากราคาค่าแรงต่ำสุดเพียงอย่างเดียว

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้